วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

เพลงบรรเลงไวโอลิน

YESTERDAY ONCE MORE SONG



แหล่งอ้างอิง  http://www.youtube.com/watch?v=dGwSaaowNwE&noredirect=1



แหล่งอ้างอิง  http://www.youtube.com/watch?v=2rR6QMlMyyk

เทคนิคการเล่นไวโอลิน

 เทคนิคการเล่นไวโอลินขั้นพื้นฐาน โปรแกรมการสอนไวโอลินประกอบภาพ เหมาะสำหรับนักไวโอลินมือใหม่ซึ่งจะได้ประโยชน์จากบทเรียนมากกว่า ด้วยเนื้อหาที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาตนเอง ข้อมูลนี้จะช่วยให้เด็กๆ ฝึกฝนเเละเรียนรู้ประสบการณ์อย่างสนุกสนานและได้ประโยชน์มากกว่า

การดูแลรักษาเครื่องดนตรี

การจับคันชัก
ควรจะจับคันชักใกล้ๆ Frog คุณสามารถจับด้ามคันชักตรงส่วนไหนก็ได้นับจากกึ่งกลางจนถึงโคนคันชัก (ตามวงกลมในภาพ) แต่อย่าให้มือสัมผัสกับหางม้า



อย่าปรับหางม้าจนตึงเกินไป ด้ามคันชักควรจะเว้าเข้าหาหางม้าเล็กน้อย และอย่าปล่อยทิ้งคันชักไว้ห่างตัว ผ่อนหางม้าทุกครั้งก่อนเก็บเข้ากล่อง



- การจับไวโอลินให้จับที่ลำตัวแต่อย่าจับที่คอ พยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับลูกบิดและสายเพราะอาจทำให้เสียงเพี้ยนได้

- เก็บไวโอลินและกล่องไม่ให้ถูกแสงเเดดหรือเครื่องทำความร้อน เพราะจะทำให้วานิชปะทุเป็นฟองได้ และอาจทำให้ไม้ได้รับความเสียหายหรือปริออกจากกันเนื่องจากมีกาวเป็นตัวยึดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

- เมื่อไม่ใช้ไวโอลินให้เก็บไว้ในที่ปลอดภัยและเเสงเเดดเข้าไม่ถึงตลอดวัน และเก็บไว้ในที่ที่สมาชิกตัวน้อยในบ้านเอื้อมไม่ถึง อย่าวางไวโอลินไว้ในรถเป็นอันขาด

- ข้อสุดท้ายก็คือ เจ้าของควรเป็นคนที่ใช้ไวโอลินเพียงคนเดียว โดยเฉพาะการป้องกันไม่ให้คนที่ไม่รู้วิธีจับไวโอลินตัวเก่งของคุณ



ใช้มือซ้ายจับกลางคันชักกึ่งกลางคันชักแบบเดียวกับการจับคันชักในขณะเล่นจริง พยายามอย่าให้มือสัมผัสกับหางม้า


กำมือขวาหลวมๆ ตรวจดูให้แน่ใจว่านิ้วโป้งโค้งเข้าเเละอยู่สูงกว่านิ้วอื่นๆ


การจับคันชักในท่านี้ คุณไม่สามารถมองเห็นได้ว่ามือ นิ้ว และนิ้วโป้งวางอยู่อย่างไร ให้พลิกคันชักในแนวดิ่ง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการฝึกในบทต่อๆ ไป ซึ่งจะทำให้คุณเห็นตำแหน่งของนิ้วและมือได้ดีกว่าและสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ง่าย

ยกคันชักให้สูงขึ้นเล็กน้อยจะทำให้คุณมองเห็นได้ถนัดกว่า แต่พยายามให้คันชักอยู่ในแนวตรงเสมอ

นิ้วก้อยควรจะโค้งเล็กน้อย และวางอยู่ด้านบนคันชักเหนือปลาย Frog ให้สังเกตตำแหน่งของนิ้วอื่นๆ ที่วางอยู่บน Frog และระยะห่างของนิ้วที่วางอยู่บนคันชักด้วย

ให้นิ้วโป้งวางอยู่อีกด้านหนึ่งของคันชัก พยายามให้นิ้วโป้งโค้งและสัมผัสกับด้านล่างของด้ามคันชักเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น สรุปก็คือให้นิ้วอื่นๆ วางอยู่ด้านหนึ่งและนิ้วโป้งวางอยู่อีกด้านหนึ่ง


ยกคันชักให้ตั้งขึ้นและหันเข้าหาตัวคุณ คุณจะเห็นว่าการจับคันชักของมือ นิ้วมือ และนิ้วโป้งเป็นอย่างไรบ้าง

พยายามให้เเขน นิ้วมือ และนิ้วโป้งรู้สึกผ่อนคลายไม่เกร็ง จับคันชักให้อยู่ในแนวดิ่งเพื่อหลีกเลี่ยงเเรงดึงหรือการประคองด้วยมืออีกข้างหนึ่ง แรงรับจะมาจากสายไวโอลินในขณะที่คุณเล่นเท่านั้น


จากท่าพักสู่ท่าพร้อมเล่น (Rest to Playing Position) สิ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่ากันก็คือ การเปลี่ยนจากท่าพักมาสู่การจับคันชักในท่าพร้อมเล่น ซึ่งจะดีมากถ้าสามารถทำได้โดยใช้มือเพียงข้างเดียวโดยไม่ต้องวางไวโอลินก่อนในขณะที่คุณกำลังเปลี่ยนท่าจับคันชัก




 ให้ปลายคันชักชี้ลงและหมุนข้อมือของคุณให้ขึ้นมาอยู่ด้านบนคันชัก จับคันชักให้มั่นคงโดยให้นิ้วโป้งที่อยู่บนคันชักเป็นแนวตรง และให้หมุดโลหะ (Screw) ค้ำอุ้งมือของคุณเหนือโคนนิ้วก้อยตามภาพ


 ใช้วิธีการจับแบบนี้เพื่อพลิกปลายคันชักให้ชี้ขึ้น หลังจากนั้นก็เพียงแต่สลับข้อมือ นิ้วโป้ง และนิ้วมือให้อยู่ในท่าที่ถูกต้องเท่านั้น ตรวจดูว่าคุณจับคันชักได้ถูกต้องหรือยัง

ในขณะที่คุณกำลังดูข้อมือที่พลิกขึ้นนั้น อย่าลืมว่าปลายคันชักอีกข้างอาจจะไปจิ้มตาครูหรือเพื่อนๆ ในวงได้


 การหนีบไวโอลิน - วางไวโอลินไว้ข้างลำตัว หลังจากนั้นให้วางคางไว้ใต้คางตามรูปที่ 1 และ 2

- ท่าทางการจับไวโอลินของคุณควรจะใกล้เคียงกับท่าทางปกติที่ยังไม่มีไวโอลินให้มากที่สุด ในขณะที่เคลื่อนไหวพยายามให้หลังและไหล่ทั้งสองข้างอยู่ในแนวตรงเสมอ

- อย่าหนีบไวโอลินด้วยคางเพราะอาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยคอได้ โดยเฉพาะเมื่อที่ใช้ที่รองไหล่


- จากภาพจะเห็นองศาการวางไวโอลินที่ถูกต้องจากภาพมุมเหนือศรีษะและไหล่ของนักไวโอลิน

- ไวโอลินควรจะทำมุมครึ่งหนึ่งของมุมหน้าตรงกับด้านซ้ายของลำตัว

 - ใช้มือซ้ายจับที่ด้านบนไวโอลินเพื่อรักษาท่าทางที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นตำเเหน่งในการเล่นไวโอลิน

- จุดที่ผิดกันมากก็คือการบิดไหล่มาข้างหน้าเพื่อรองรับไวโอลิน พยายามให้ไหล่ซ้ายอยู่ในตำเเหน่งเดิมตามธรรมชาติ

- ควรจะรักษาระดับของไวโอลินตลอดความยาวลำตัวให้ขนานกัน ซึ่งจะทำให้ปลายทั้ง 2 ข้างสูงจากพื้นเท่าๆ กัน แต่ด้านซ้ายของไวโอลินควรจะสูงกว่าด้านขวาเล็กน้อย อย่าวางข้อศอกพิงไว้บนลำตัว ยกไวโอลินให้สูงขึ้น

- ปลายคางควรจะอยู่ใกล้กับหางปลาและด้านล่างของไวโอลินควรจะสัมผัสกับกระดูกไหปลาร้า และวางไวโอลินให้ชิดต้นคอของคุณ

 - ถ้ากระดูกไหปลาร้าเกิดอาการเจ็บ คุณอาจจะใช้ผ้ารองได้แต่เช็คดูให้ดีว่าไวโอลินไม่เลื่อนไปมาเพราะว่าคุณใช้ผ้ารองมากเกินไป วิธีนี้จะทำให้ควบคุมไวโอลินได้ยากและเกิดปัญหามากขึ้น

- ความรู้สึกผ่อนคลายและไม่เกร็งกุญแจสำคัญคือ จับไวโอลินด้วยมือซ้ายและวางไวโอลินให้ชิดต้นคออย่างนุ่มนวล

- จากภาพด้านล่างแสดงให้เห็นว่าไวโอลินด้่านหนึ่งสูงกว่าอีกด้านหนึ่ง ถ้าไวโอลินทั้ง 2 ด้านอยู่ในระนาบเดียวกัน จะทำให้คุณต้องยกมือขวาให้สูงมากๆ เพื่อลากคันชักซึ่งจะทำได้ยากกว่าและไม่ค่อยถนัดนัก

- จับไวโอลินตามแบบในภาพบน ใช้มือซ้ายจับบนลำตัวไวโอลิน แต่ยังไม่จับส่วนคอ







แหล่งอ้างอิง  http://www.pantown.com/board.php?id=13220&name=board9&topic=10&action=view




การดูแลรักษา Violin

ไม้กับความชื้น (Wood and Water)
Violin peg strings.jpg
ไม้ไม่สามารถรักษาสภาพของตัวเองได้ดีนักเมื่อถูกความชื้น แม้ว่าไม้จะคงรูปได้ดีขึ้นหลังจากที่ผ่านกระบวนการอบเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ไม้ยังคงพองหรือบวมเมื่อถูกความชื้น และหดตัวเมื่ออากาศแห้ง ไม้ที่ใช้ทำชิ้นส่วนบางอย่างของไวโอลินจะคงรูปดีกว่าไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรีอื่นๆ นอกจากนั้น ไม้ทุกชนิดจะหดตัวในแนวขวางของลายไม้มากกว่าการหดตัวตามยาว
ในช่วงเดือนที่มีความชื้นสูงๆ ไม้แผ่นหน้ามักจะเกิดการขยายตัวมากกว่าอาการคอไวโอลินตก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สายไวโอลินเหนือสะพานวางนิ้วลอยสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศอาจเป็นสาเหตุให้การเล่นและการตอบสนองของเสียงเกิดการแกว่งตัว และอาจทำให้เกิดปัญหาที่หนักกว่านั้นคือ ไม้เกิดการปริแตกเมื่อสูญเสียความชื้นอย่างรวดเร็วกว่าที่มันดูดซึมเอาไว้ได้

การบิดตัวของไม้ (Distortion)

ธรรมชาติของไม้มีความยืดหยุ่นในตัวเอง อาจจะค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามแรงที่มากระทำ ช่างทำไวโอลินอาศัยข้อดีอันนี้ในการขึ้นรูปแผ่นไม้ด้านข้าง (Rib) หรือการดัดไม้
แต่หย่องที่งอ ไม้แผ่นหลังที่ยุบ และคอไวโอลินที่ตก เป็นผลมาจากแรงกดอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม้เริ่มบิดตัว มันจะสูญเสียความแข็งแรงจากรูปทรงเดิมอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดความเสียหายหนักตามมา

อุณหภูมิ (Temperature)

การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม้เกิดการขยายตัวและหดตัวเช่นเดียวกับวัตถุอื่นๆ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของอุณหภูมิและ ความชื้นในไม้ ควรจะใช้กล่องไวโอลินแบบสูญญากาศอย่างดี และอย่าวางไว้ไกล้รังสีความร้อนหรือวางถูกแสงแดดโดยตรง กล่องไวโอลินเกือบทุกชนิดที่บุด้วยวัสดุผิวด้านสีเข้มจะมีผลต่อการดูดซับแสงให้แปรเปลี่ยนเป็นความร้อนได้มากกว่า

การเดินทาง (Travel) ขนส่ง (Shipping) การถือ (Carrying an instrument)

ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ อย่าวางเครื่องดนตรีไว้ในกระโปรงท้ายรถ เพราะเครื่องดนตรีจะได้รับความร้อนมาก ทำให้ได้รับความเสียหาย
เมื่อต้องส่งเครื่องดนตรีไปทางพัสดุภัณฑ์ ให้คลายสายออกเล็กน้อยและใช้วัสดุนุ่มๆ บุที่หย่องทั้ง 2 ด้านเสียก่อน ควรเก็บเครื่องดนตรีไว้ในกล่องของมันเองเพื่อความปลอดภัย หลังจากนั้นให้ห่อในกล่องสำหรับส่งของ บุรอบๆ กล่องด้วยวัสดุสำหรับห่อกล่อง
ถ้าหกล้มในขณะถือเครื่องดนตรี โดยสัญชาติญาณของคนส่วนใหญ่จะกอดกล่องไวโอลินไว้ข้างหน้า เพราะคิดว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องดนตรีแตกหักได้ แต่น่าเสียดายว่ากลับทำให้เครื่องดนตรีพังมา ควรใช้กล่องที่แข็งแรงซึ่งจะยึดไวโอลินให้ลอยอยู่ในกล่องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการล้มคว่ำหงาย และพยายามหัดถือกล่องด้วยมือที่ไม่ถนัดให้เคยชิน เช่น ถือด้วยมือซ้ายถ้าคุณเป็นคนถนัดขวา ซึ่งจะทำให้เหลือมือข้างที่ถนัดไว้ป้องกันตนเองได้

การทำความสะอาด (Cleaning)

การเช็ดทำความสะอาดตัวเครื่องและคันชักด้วยผ้านุ่มๆ สะอาดๆ หลังการเล่นทุกครั้งเป็นสิ่งที่ควรทำให้เป็นกิจวัตร ใช้เศษผ้าชุบแอลกอฮอล์เพื่อขจัดการเกาะตัวของยางสนบนฟิงเกอร์บอร์ด และสาย

ภาพแสดงการเรียกชื่อชิ้นส่วนต่างๆของคันชักเป็นภาษาอังกฤษ

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือระวังไม่ให้แอลกอฮอล์สัมผัสกับผิวของวานิช และควรจะให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คสภาพไวโอลินเป็นประจำทุกๆ ปี ช่างอาจจะปล่อยรอยคราบบางอย่างเอาไว้ และใช้น้ำยาเคลือบผิวทับลงไปบนคราบสกปรกโดยไม่จำเป็นต้องเอาออกก็ได้ กรดจากผิวหนังของคุณสามารถทำลายผิวของวานิชได้อย่างช้าๆ ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวของวานิช

คันชัก (Bow)

ควรจะจับคันชักบริเวณ Frog ในขณะดึงหางม้า (Hair) ให้ตึง เพราะจะช่วยลดแรงกดที่เกลียวสกรูทองเหลือง (Screw) ที่อยู่ข้างในโคนด้ามคันชัก และช่วยป้องกันไม่ให้เกลียวหวานได้
ในขณะที่คุณเล่นไวโอลินนั้น หางม้าที่อยู่ด้านข้างคันชักที่คุณลากลงมักจะขาดก่อนเพื่อน ทำให้ความสมดุลของแรงดึงบนคันชักเสียไปจนอาจทำให้คันชักงอได้ ดังนั้นพยายามเปลี่ยนหางม้าบ่อยๆ และพยายามรักษาหนังหุ้มด้ามคันชัก (Pad หรือ Grip) ให้อยู่ในสภาพดี ถ้านิ้วโป้งของคุณไปเสียดสีกับด้ามคันชักบ่อยๆ จะทำให้คันชักได้รับความเสียหายเช่นกัน พยายามตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ และควรให้ความเอาใจใส่ปลายคันชัก (Tip) เป็นพิเศษ




แหล่งอ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99

โครงสร้าง Violin


โครงสร้างของไวโอลิน เรียงจากบนไปล่าง
  • หัวไวโอลิน (Scroll)
  • โพรงลูกบิด (Pegbox)
  • คอ (Neck)
  • สะพานวางนิ้ว หรือ ฟิงเกอร์บอร์ด (Fingerboard)
  • (Upper Bout)
  • เอว (Waist)
  • ช่องเสียง (F-holes)
  • หย่อง (Bridge)
  • (Lower Bout)
  • ตัวปรับเสียง (Fine Tuners)
  • หางปลา (Tailpiece)
  • ที่รองคาง (Chinrest)
ขนาดมาตรฐานของไวโอลินคือ ยาว 23.5 นิ้ว และ คันชักยาว 29 นิ้ว



แหล่งอ้างอิง  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99

ประวัติเครื่องดนตรีตะวันตก Violin


            ไวโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตรา



ประวัติ
         ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดไวโอลินได้ปรากฏขึ้นเมื่อช่วงเวลาใด แต่คาดว่าปรากฏขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ผลิตนั้นดัดแปลงมาจากเครื่องดนตรียุคกลาง 3 ชนิด อันได้แก่ เรเบค (rebec) ซอเรอเนซองซ์ (the Renaissance fiddle) และ ลีรา ดา บราชโช (lira da braccio) ซึ่งเครื่องดนตรีทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับไวโอลิน แต่หลักฐานที่แน่นอนที่สุดก็คือ มีหนังสือที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับไวโอลินในปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1556) แล้ว โดยได้ตีพิมพ์ที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส และคาดว่าช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ไวโอลินน่าจะเผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรปแล้ว
ไวโอลินที่ถือว่าเป็นคันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นโดย อันเดร์ อมาตี (Andrea Amati) ในช่วงครึ่งศตวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการว่าจ้างของครอบครัวเมดิซี ซึ่งต้องการเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ต่อมาด้วยคุณภาพที่ดีของเครื่องดนตรี พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ อันเดร์ ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้นมาอีก เพื่อมาเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประเภทใหม่ของวงออร์เคสตราประจำของพระองค์ และไวโอลินที่เก่าแก่สุดและยังให้เห็นอยู่ คือไวโอลินที่ อันเดร์ ประดิษฐ์ขึ้นในเมืองเครโมนา (Cremona) ประเทศอิตาลี ซึ่งได้ถวายแด่ พระเจ้าชาลส์ที่ 4 เช่นกันตรงกับปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566)




แหล่งอ้างอิง  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%99

ประวัติส่วนตัว

นางสาวผกาพรรณ   แสงพรหม
 
ชื่อเล่น  นิ้งค์
 
วันเกิด27 มกราคม 2537
 
 
รหัสประจำตัวนักศึกษา 55122403 หมู่เรียน ดส 55.ศ4.1
 
มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่